กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนร่วมภายใต้การจัดการของ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด
มีลักษณะเป็น Master Pooled Fund

กล่าวคือ เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนสามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง เนื่องจากสมาชิกแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน เช่น อายุ ระยะเวลา การลงทุน ความรู้ความเข้าใจในการลงทุน ผลตอบแทนที่คาดหวัง หรือระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ดังนั้น การเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้เองจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับสมาชิก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการมีเงินใช้อย่างเพียงพอในยามเกษียณ

บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด ขอนำเสนอกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประเภทกองทุนร่วม (Master Pooled Fund) ในลักษณะ Employee’s Choice จำนวน 2 กองทุน ดังนี้

1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยูโอบี อินเวสเตอร์ ชอยส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (UOB Investor Choice)
2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยูโอบี มาสเตอร์ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (UOB Master Fund)

 
 

1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพยูโอบี อินเวสเตอร์ ชอยส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (UOB Investor Choice)

เป็นกองทุนร่วม (Pooled Fund) ซึ่งมีการจัดสรรการลงทุนผ่านกองทุนรวม (Mutual Fund)

ตามประเภทสินทรัพย์หลัก (Core Asset Class) ในสัดส่วนการลงทุนที่แตกต่างกันตามหลักการ Asset Allocation โดยสมาชิกสามารถเลือกนโยบายลงทุน (Employee’s Choice) ได้ในระดับกองทุนย่อย (Sub-Fund) โดยจัดแบ่งตามระดับผลตอบแทนที่คาดหวัง และความเสี่ยงจากการลงทุนที่สมาชิกยอมรับได้

จุดเด่น

กองทุนได้รับรางวัลรองชนะเลิศกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่นครั้งที่ 6 ประจำปี 2560 ประเภท “Pooled Fund ขนาดกองทุนเล็กกว่า 10,000 ล้านบาท” จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
1. ประโยชน์สูงสุดจากการจัดสรรสัดส่วนการลงทุน (Asset Allocation) ที่ดีที่สุด สอดคล้องกับวัย ระยะเวลาการลงทุน และความคาดหวังในผลตอบแทนของสมาชิกแต่ละท่าน
2. การลงทุนเชิงรุก (Active Management Style) + การปรับสัดส่วนการลงทุนให้อัตโนมัติ (Automatic Rebalancing) ซึ่งหมายความว่าสัดส่วนการลงทุนของสมาชิกจะไม่เบี่ยงเบนไปตามภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง
3. นโยบายการลงทุนแบ่งตามระดับผลตอบแทนและความเสี่ยงโดยมีการทดสอบผลการลงทุนด้วยการใช้แบบจำลองย้อนหลัง (Back-test model) เพื่อให้การจัดสรรสัดส่วนการลงทุนมีประสิทธิภาพสูงสุด(Optimal Portfolio) โดยใช้ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี
4.โอกาสในการเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีภายใต้โครงสร้างที่เหมาะสม

รายละเอียดกองทุนรวมปลายทางที่กองทุนลงทุน

การลงทุนในประเทศ

นโยบายตราสารหนี้
TCMFPVD

กองทุนเปิด ไทยแคชแมเนจเม้นท์ สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) กองทุนที่ลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยงต่างประเทศ

TFIFPVD

กองทุนเปิด ไทยตราสารหนี้ สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนที่ลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยงต่างประเทศ

นโยบายตราสารทุน
TEF

กองทุนเปิด ไทย อิควิตี้ฟันด์ กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนที่ลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยงต่างประเทศ

การลงทุนต่างประเทศ

นโยบายตราสารหนี้
UFFF-I

กองทุนเปิด ยูไนเต็ด ฟิกซ์ อินคัม ฟันด์ออฟ ฟันด์ หน่วยลงทุนชนิดเพื่อผู้ลงทุนนิติบุคคล กองทุน ตราสารหนี้ระยะสั้นต่างประเทศ

USI

กองทุนเปิด ยูไนเต็ดซัสเทนเนเบิล เครดิต อินคัม ฟันด์ กองทุน ตราสารต่างหนี้ต่างประเทศ

นโยบายผสม
UGBF-N

กองทุนเปิด ยูไนเต็ดโกลบอลบาลานซฟ์ันด์ – หน่วยลงทุนชนิดรับซื้อคืน หน่วยลงทุนแบบปกติ กองทุนรวมผสมตราสารต่างประเทศ

นโยบายตราสารทุน
UESG

กองทุนเปิด ยูไนเต็ด อิควิตี้ ซัสเทนเนเบิล โกลบอล ฟันด์ กองทุนรวมตราสารทุน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยูโอบี อินเวสเตอร์ ชอยส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว

  • ตลาดเงิน หมายถึง TCMFPVD*
  • ตราสารหนี้ หมายถึง TFIFPVD*
  • หุ้น หมายถึง TEF*
  • ตราสารหนี้ระยะสั้น ต่างประเทศ หมายถึง UFFF-I*
  • ตราสารต่างหนี้ต่างประเทศ หมายถึง USI*
  • หุ้น ต่างประเทศ หมายถึง UESG*
  • ตราสารต่างประเทศ หมายถึง UGBF-N*

• นโยบายการลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่นําเงินไปลงทุน
UGBF-N : วัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อสร้างรายรับอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้ลงทุนและการเติบโตของเงินลงทุนในระยะกลางและระยะยาว โดยกองทุนหลักจะลงทุนในทรัพย์สินที่หลากหลายซึ่งรวมถึง ทรัพย์สินประเภทดั้งเดิม (เช่น ตราสารทุน และตราสารหนี้ เป็นต้น ) และอาจมีการใช้ตราสารอนุพันธ์ตามความเหมาะสม
UFFF-I : เป็นกองทุน Fund of Funds โดยกระจายการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศโดยเฉลี่ย รอบปิดบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เน้นลงทุนในตราสารหนี้ investment grade และอาจมีการลงทุนในตราสารหนี้ non-investment grade หรือ unrated ในสัดส่วนไม่เกิน 20% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
USI : วัตถุประสงค์การลงทุนเพื่อเน้นรักษาระดับรายได้อย่างสม่ำเสมอโดยเน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความหลากหลายในกลุ่มอุตสาหกรรม และดำเนินกลยุทธ์เพิ่ม ประสิทธิภาพของรายได้โดยจะเป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐและ / หรือภาคเอกชนและกองทุนหลักจะพิจารณาลงทุนในบริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์มีส่วนร่วมในหลักการ UN Sustainable Development Goals (SDGs)
UESG: ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ ในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นหลักการเลือกตราสารทุนเพื่อลงทุนจะใช้หลักการวิเคราะห์ ปัจจัยพื้นฐานในหุ้นที่มีกระแสเงินสดในระดับสูงมีอัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเพื่อการดำเนินงานของบริษัท Return on Invested Capital (ROIC) ที่จูงใจ และมีแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เหมาะสม

*TCMFPVD,TFIFPVD เป็นกองทุนรวมที่ได้รับยกเว้น การเก็บภาษีจากการลงทุนในตราสารหนี้
*TEF,UGBF-N, UFFF-I, USI, UESG เป็นกองทุนรวมที่มีภาระภาษีจากการลงทุนตราสารหนี้เพื่อสภาพคล่องของกองทุน