กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นการส่งเสริมการออมระยะยาวของลูกจ้าง เพื่อให้มีเงินออมไว้ใช้เมื่อเกษียณอายุ หรือเมื่อออกจากงาน และเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัวกรณีที่สมาชิกเสียชีวิต โดยลูกจ้างมีหน้าที่จ่าย "เงินสะสม" และนายจ้างจ่าย "เงินสมทบ" เข้ากองทุน และเงินก้อนนี้จะถูกบริหารโดยมืออาชีพ คือ "บริษัทจัดการ" ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้สามารถบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
* ข้อมูลเพิ่มเติม
pf1-bg-diagram
  • ตัวแทนของกองทุน
  • แต่งตั้งจากนายจ้าง และเลือกตั้งจากสมาชิก
  • ดูแลกิจการทั่วไปของกองทุน
  • ได้รับใบอนุญาตให้จัดการกองทุน
  • นำเงินกองทุนไปลงทุน
  • ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.
  • บุคคลที่ 3 (ไม่ใช่บริษัทจัดการ และนายจ้าง)
  • เก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุน
  • ระบบรับและจ่ายเงินกองทุน
  • ระบบทะเบียนสมาชิก
  • มีระบบงานขั้นต่ำตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด

ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

โดยทั่วไปแล้วรูปแบบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมี 2 รูปแบบ ได้แก่

  • กองทุนที่มีบริษัทนายจ้างรายเดียวจัดตั้งขึ้น เรียกว่ากองทุนเดี่ยว (Single Fund) กองทุนเดี่ยว คือ กองทุนที่จัดตั้งสำหรับบริษัท หรือกลุ่มบริษัทเดียวกันที่มีขนาดกองทุนแล้วไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารจัดการดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการกองทุนร่วมกับบลจ. ยูโอบี เป็นผู้กำหนดนโยบายลงทุน มาตรวัดผลการดำเนินงาน รวมถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการจัดการฯ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จะสอดคล้องกับนโยบายการลงทุน
  • กองทุนที่มีบริษัทนายจ้างหลายรายร่วมกันจัดตั้ง เรียกว่ากองทุนร่วม (Pooled Fund) + กองทุนร่วม คือ กองทุนที่มีหลายนายจ้าง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงบริษัทที่ยังไม่เคยจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาก่อน โดยคณะกรรมการกองทุนจะเป็นผู้พิจารณาเลือกกองทุนร่วมที่เหมาะสม สามารถกำหนดและเปลี่ยนแปลงนโยบายรวมถึงแผนการลงทุนได้อย่างมีความยืดหยุ่น ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายของกองทุนจะเป็นการเฉลี่ยระหว่างนายจ้างทุกรายของกองทุนนั้น
“ดังนั้นก่อนการจัดตั้งกองทุน นายจ้างจะต้องคำนึงถึงขนาดของกองทุนนายจ้างว่าเหมาะสมกับกองทุนรูปแบบใด”
กองทุนเดี่ยว (Single Fund)
ขนาดของเงินกองทุน > 100 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ รับภาระทั้งหมด อำนาจในการตัดสินใจ ของคณะกรรมการกองทุน อิสระ นโยบายการลงทุน อิสระเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามหากขนาดเงินกองทุนมีจำนวนไม่มาก การมีหลายนโยบายการลงทุนจะติดข้อจำกัดการลงทุนได้
กองทุนร่วม (Pooled Fund)
ขนาดของเงินกองทุน < 100 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เฉลี่ยค่าใช้จ่ายกับนายจ้างรายอื่น อำนาจในการตัดสินใจ ของคณะกรรมการกองทุน ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกองทุนฯ ของนายจ้างรายอื่นด้วย นโยบายการลงทุน เปลี่ยนแปลงได้ไม่ง่าย ขึ้นอยู่กับความเห็นส่วนใหญ่ของนายจ้างรายอื่นที่อยู่ในกองทุนด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกองทุนร่วมของ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด มีนโยบายหลากหลาย ซึ่งนายจ้างสามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับสมาชิกได้

ประโยชน์ในการจัดตั้งกองทุน

ประโยชน์สำหรับนายจ้าง
  1. เพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน ส่งผลให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  2. เพื่อเป็นการลดภาระของนายจ้างในการจ่ายเงินบำเหน็จ อันอาจมีผลต่อกระแสเงินสดของนายจ้าง
  3. เป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร
  4. เงินสมทบของนายจ้างถือเป็นค่าใช้จ่ายของนายจ้าง เพื่อลดภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างในปีภาษีนั้น
ประโยชน์สำหรับลูกจ้าง
  1. ได้รับเงินสมทบจากนายจ้างเพิ่มจากเงินเดือนประจำ
  2. เป็นการส่งเสริมการออมเงินให้กับสมาชิก
  3. เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับสมาชิกและครอบครัว ในกรณีลาออก หรือเกษียณอายุ หรือถึงแก่กรรม
  4. ได้รับการบริหารกองทุนจากมืออาชีพ
  5. ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ทั้งในขณะที่เป็นสมาชิกกองทุน และลาออกจากกองทุน

กองทุนร่วมภายใต้การจัดการของ

บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด มีลักษณะเป็น Master Pooled Fund

กล่าวคือ เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนสามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง เนื่องจากสมาชิกแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน เช่น อายุ ระยะเวลาการลงทุน ความรู้ความเข้าใจในการลงทุน ผลตอบแทนที่คาดหวัง หรือระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ดังนั้น การเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้เองจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับสมาชิก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการมีเงินใช้อย่างเพียงพอในยามเกษียณ
บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด ขอนำเสนอกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประเภทกองทุนร่วม (Master Pooled Fund) ในลักษณะ Employee’s Choice จำนวน 2 กองทุน ดังนี้
  1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยูโอบี อินเวสเตอร์ ชอยส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (UOB Investor Choice)
  2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยูโอบี มาสเตอร์ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (UOB Master Fund)

1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพยูโอบี อินเวสเตอร์ ชอยส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (UOB Investor Choice)

เป็นกองทุนร่วม (Pooled Fund) ซึ่งมีการจัดสรรการลงทุนผ่านกองทุนรวม (Mutual Fund)

ตามประเภทสินทรัพย์หลัก (Core Asset Class) ในสัดส่วนการลงทุนที่แตกต่างกันตามหลักการ Asset Allocation โดยสมาชิกสามารถเลือกนโยบายลงทุน (Employee’s Choice) ได้ในระดับกองทุนย่อย (Sub-Fund) โดยจัดแบ่งตามระดับผลตอบแทนที่คาดหวัง และความเสี่ยงจากการลงทุนที่สมาชิกยอมรับได้
จุดเด่น
กองทุนได้รับรางวัลรองชนะเลิศกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่นครั้งที่ 6 ประจำปี 2560 ประเภท “Pooled Fund ขนาดกองทุนเล็กกว่า 10,000 ล้านบาท” จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
  1. ประโยชน์สูงสุดจากการจัดสรรสัดส่วนการลงทุน (Asset Allocation) ที่ดีที่สุด สอดคล้องกับวัย ระยะเวลาการลงทุน และความคาดหวังในผลตอบแทนของสมาชิกแต่ละท่าน
  2. การลงทุนเชิงรุก (Active Management Style) + การปรับสัดส่วนการลงทุนให้อัตโนมัติ (Automatic Rebalancing) ซึ่งหมายความว่าสัดส่วนการลงทุนของสมาชิกจะไม่เบี่ยงเบนไปตามภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง
  3. นโยบายการลงทุนแบ่งตามระดับผลตอบแทนและความเสี่ยง โดยมีการทดสอบผลการลงทุนด้วยการใช้แบบจำลองย้อนหลัง (Back-test model) เพื่อให้การจัดสรรสัดส่วนการลงทุนมีประสิทธิภาพสูงสุด (Optimal Portfolio) โดยใช้ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี
  4. โอกาสในการเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีภายใต้โครงสร้างที่เหมาะสม
รายละเอียดกองทุนรวมปลายทางที่กองทุนลงทุน
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยูโอบี อินเวสเตอร์ ชอยส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
นโยบายที่ 1
นโยบายที่ 2
นโยบายที่ 3
นโยบายที่ 4
นโยบายที่ 5
นโยบายที่ 6
นโยบายที่ 7
นโยบายอื่น ๆ
ตราสารหนี้
ตราสารหนี้ 90% ตราสารทุน 10%
ตราสารหนี้ 80% ตราสารทุน 20%
ตราสารหนี้ 60% ตราสารทุน 40%
ตราสารหนี้ 40% ตราสารทุน 60%
ตราสารหนี้ 20% ตราสารทุน 80%
ตราสารทุน

2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยูโอบี มาสเตอร์ ฟันด์
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (UOB Master Fund)

เป็นอีกหนึ่งกองทุนร่วม (Pooled Fund) ที่สามารถลงทุนผ่านนโยบายย่อย (Sub-Fund)

ซึ่งมีหลายนโยบายการลงทุนด้วยกัน ทั้งแบบที่เป็นการลงทุนตรง (Direct Investment) และผ่านกองทุนรวม (Mutual Fund) ในสินทรัพย์การลงทุนหลากหลายประเภท โดยมีคณะกรรมการกองทุนสามารถเป็นผู้กำหนดรูปแบบการลงทุน (แผนการลงทุน) ให้แก่สมาชิก หรือให้สมาชิกจัดสัดส่วนการลงทุนได้ด้วยตัวเอง (Do It Yourself: DIY) ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
จุดเด่น
  1. เป็นกองทุนที่มีความยืดหยุ่นสูง (Flexibility) โดยสมาชิกสามารถกำหนดสัดส่วนการลงทุนของตนเองได้อย่างอิสระ หรือเป็นไปตามกรอบที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด
  2. คณะกรรมการกองทุนสามารถปรับเปลี่ยนนโยบาย หรือแผนการลงทุนได้ตามที่เห็นสมควร
  3. โอกาสในการเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีภายใต้โครงสร้างที่เหมาะสม
  4. เนื่องจากบลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด บริหารกองทุนและจัดทำระบบทะเบียนสมาชิกเอง จึงสามารถรองรับนโยบายการลงทุน และการปรับเปลี่ยนของสมาชิกได้โดยไม่มีข้อจำกัด
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยูโอบี มาสเตอร์ ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
นโยบายที่ 1 *
นโยบายที่ 2 *
นโยบายที่ 3 *
นโยบายที่ 4 *
นโยบายที่ 5
นโยบายที่ 6
นโยบายที่ 7
นโยบายที่ 8
นโยบายอื่น ๆ
ยูโอบี
ทรัพย์มั่นคง
ยูโอบี
เพิ่มพูนทรัพย์
ยูโอบี
ทวีทรัพย์
ยูโอบี
อิควิตี้
ตราสารหนี้
(ไม่มีตราสารหนี้ภาคเอกชน)
ตราสารหนี้
ตราสารหนี้ 80% ตราสารทุน 20%
ตราสารทุน
ตราสารทุนลงทุน
ผ่านกองทุนเปิด
ยูโอบีสมาร์ท
ดิวิเดนท์โฟกัสฯ
ตราสารทุน
ผ่านกองทุนเปิด
ยูโอบี สมาร์ท
แอคทีฟเซท 100
กองทุนผสม
ตราสาร
ต่างประเทศ
ตราสารทุนลงทุน
ผ่านกองทุนเปิด
ยูโอบี สมาร์ทโกลด์
หมายเหตุ *
นโยบายที่ 1-4 เป็นการลงทุนตรงในนโยบายใด ๆ ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นโยบายที่ 5-8 เป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมของ บลจ. ยูโอบี

บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ให้คำปรึกษาแก่คณะทำงาน/คณะกรรมการกองทุน ในการพิจารณารูปแบบกองทุนและความเหมาะสมในการจัดตั้งกองทุน เช่น กองทุนเดี่ยว (Single Fund) กองทุนร่วม (Pooled Fund)
ให้คำปรึกษาในการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน รวมถึงการเตรียมเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน โดยทาง บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด จะจัดเตรียมแผนงานการดำเนินงานที่เหมาะสมให้กับนายจ้างที่จะตั้งกองทุน
พิจารณาข้อมูลของกองทุนและสมาชิกกองทุน ระดับของอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงที่สมาชิกกองทุนต้องการ เพื่อนำเสนอรูปแบบของกองทุน และนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว
ชี้แจงและแนะนำในการจัดเตรียมร่างข้อบังคับกองทุน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และความต้องการของนายจ้างและลูกจ้าง
จัดเตรียมเอกสารและดำเนินการจดทะเบียนกองทุนต่อนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

นายจ้างและลูกจ้างที่มีความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

บลจ. ยูโอบี ใช้เวลาในการจดทะเบียน
กองทุนเข้า Master Fund 30 วัน
เลือก บลจ. ยูโอบี
เป็นบริษัทจัดการฯ
บริษัทฯ นำส่งข้อมูล
ประกอบการจัดตั้งฯ
ให้ บลจ. ยูโอบี
T - 30
บลจ. ยูโอบี ขออนุมัติสำนักงาน
ก.ล.ต. และจัดทำเอกสารสัญญา
ส่งให้บริษัทฯ เพื่อลงนาม
T - 25
ผู้มีอำนาจลงนาม
พร้อมส่งเอกสารกลับ
บลจ. ยูโอบี
T - 20
บลจ. ยูโอบี นำเสนอ
พนักงาน เพื่อทราบถึงประโยชน์
และสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฯ
T - 15
บลจ. ยูโอบี นำส่ง
เอกสารให้สำนักงาน ก.ล.ต.
เพื่ออนุมัติ
T - 10
จากวันที่มีผล
สำนักงาน ก.ล.ต. อนุมัติเข้าร่วม
กองทุนฯ
T = วันที่มีผล
(วันจ่ายค่าจ้าง)
บริษัทเริ่มนำส่งเงิน
ภายใน 3 วันทำการ
นับตั้งแต่วันจ่ายค่าจ้าง
ของบริษัท
นำส่งเงินภายใน 3 วัน
นับแต่วันจ่ายค่าจ้าง

บริการประชาสัมพันธ์สมาชิก

  1. ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และการเลือกการออมตามนโยบายที่สมาชิกต้องการ (Employee's Choice)
  2. ให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนประเภทต่างๆ อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง และให้คำปรึกษาในการเลือกนโยบาย
    การลงทุนแก่สมาชิกกองทุน
  3. จัดเตรียมเอกสารประชาสัมพันธ์ให้กับนายจ้าง ที่จะตั้งกองทุน เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์ให้กับพนักงาน โดยนายจ้าง
    ที่จะตั้งกองทุนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

บริการข้อมูลผ่านระบบ
Online Services

บริการตรวจสอบยอดเงิน
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
รายสมาชิก
บริการเปลี่ยนนโยบาย
การลงทุนบน
ระบบอินเทอร์เน็ต
บริการข่าวสารข้อมูล
สภาวการณ์เศรษฐกิจ/การลงทุน
รวมไปถึงข่าวสารต่างๆ
เป็นประจำทุกเดือน
บริการพิมพ์แบบฟอร์มต่างๆ
ทั้งในส่วนของคณะกรรมการ
กองทุน และสมาชิกกองทุน
 

รายงานสำหรับคณะกรรมการและสมาชิก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

1. รายงานรายเดือน
  • แบบรายงาน กช. 1.1 งบแสดงส่วนของสมาชิก–นายจ้าง และผลประโยชน์
  • แบบรายงาน กช. 1.2 งบแสดงรายละเอียดสินทรัพย์สุทธิ
  • รายงานการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก และตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
  • รายงานข้อมูลเงินกองทุนรายสมาชิก ซึ่งแยกเป็นเงินสะสม ผลประโยชน์เงินสะสม เงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสมทบ พร้อมข้อมูลจำนวนหน่วย มูลค่า/หน่วย ณ วัน ที่รายงาน
  • รายงานสรุปข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรายเดือน
2. รายงานรายปี
  • แบบรายงาน กช. 2.1 งบดุล
  • แบบรายงาน กช. 2.2 งบกำไรขาดทุน
  • แบบรายงาน กช. 2.3 งบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน
  • แบบรายงาน กช. 2.4 งบแสดงการเปลี่ยนแปลง ทรัพย์สินสุทธิ
  • แบบรายงาน กช. 2.5 งบกระแสเงินสด
  • แบบรายงาน กช. 2.6 ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
3. รายงานราย 6 เดือน และรายปี (สำหรับสมาชิกเป็นรายบุคคล)

จุดเด่นของ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด

ความรู้/ประสบการณ์
ในระดับสากล
  • การสนับสนุนด้านการจัดการลง ทุน และให้คำปรึกษาจากกลุ่มยูโอบี
  • การวิเคราะห์/วิจัยจากกลุ่มยูโอบี
มีพื้นฐาน/ระบบการบริหารที่ดี
  • แนวทางการบริหารจัดการแบบเชิงรุก (Active Management)
  • ระบบจัดการทะเบียนสมาชิกที่พัฒนามาอย่างยาวนาน รองรับการให้บริการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบสมาชิกเลือกลงทุนเอง (Employee’s Choice) ได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
  • การบริหารระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ
  • มีระบบ Online Services ที่ให้สมาชิกสามารถดูข้อมูลส่วนบุคคล และสับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนผ่านระบบ online service ได้ด้วยตนเอง
ทีมบริหารจัดการกองทุน
ที่มีประสบการณ์ทั้งใน
และต่างประเทศ
  • มีความรู้เรื่องตลาดเงินและตลาด ทุนเป็นอย่างดี
  • มีประสบการณ์หลากหลายในเรื่องหุ้น และตราสารหนี้
  • เป็นผู้ริเริ่มผลิตภัณฑ์และบริการ ทางการเงินใหม่ๆ หลายรูปแบบ
คณะกรรมการกองทุน
สมาชิกกองทุน

แบบประเมินความเสี่ยงการลงทุนรายสมาชิก

การเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุน/แผนการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง

ภายใต้กรอบการลงทุนที่คณะกรรมการกองทุนกำหนดไว้เป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากสมาชิกแต่ละคนมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น อายุ ระยะเวลาการลงทุน ความรู้ความเข้าใจในการลงทุน ผลตอบแทนที่คาดหวัง หรือระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ แต่ถ้าหากสมาชิกเลือกนโยบายการลงทุน/แผนการลงทุนที่ไม่เหมาะสมกับตนเองแล้ว การทำ Employee’s Choice อาจจะส่งผลเสียต่อเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นเงินก้อนสุดท้ายเมื่อออกจากงาน/ออกจากกองทุนก็เป็นได้
ดังนั้น การมีแบบประเมินความเสี่ยง (Member Risk Profile) จะช่วยให้สมาชิกได้รู้จักความชอบ และพฤติกรรมการลงทุนของตัวเองเพื่อให้สมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุน/แผนการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองได้โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการลงทุน เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การทำแบบประเมินของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ดาวน์โหลดเอกสาร

UOBAM Provident fund News Update

รับทราบมุมมองการลงทุนจากผู้จัดการกองทุนและข่าวสารจาก บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด

สภาวะการลงทุน




ติดต่อฝ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด

ติดต่อฝ่ายลงทุนสำรองเลี้ยงชีพ โทรศัพท์ : +66 2786 2000 ต่อ 2031 - 5
โทรสาร : +66 2786 2371
อีเมล์ thuobamProvident@UOBgroup.com
สถานที่ตั้ง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด ชั้น 23A, 25 อาคารเอเซียเซ็นเตอร์ เลขที่ 173/27-30, 31-33 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ : +66 2786 2000
สนใจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ