สิทธิประโยชน์ทางภาษี
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว
(Long Term Equity Fund: LTF)
(Long Term Equity Fund: LTF)
เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ การเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุน LTF เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่อาจไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น หรือไม่มีเวลา จึงลงทุนผ่านกองทุนรวม ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน และเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงทุน นั่นคือ เมื่อลงทุนแล้วต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน
**หมายเหตุ การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
นโยบายการลงทุนของ LTF
นโยบายการลงทุนของ LTF มีแบบเดียว คือ ต้องมีฐานะการลงทุนสุทธิในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเฉลี่ยรอบปีบัญชี โดยแต่ละกองทุน LTF อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เช่น กองทุน LTF บางกองอาจเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET50 หรือหุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลงทุนในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของกองทุน LTF กองนั้นๆ
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ LTF
เงินลงทุนใน LTF สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยเมื่อลงทุนตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตารางสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ LTF
ตัวอย่างภาษีที่ลดหย่อนจากการซื้อ LTF
เงินได้สุทธิต่อปี | ฐานภาษี 5% | ฐานภาษี 20% | ฐานภาษี 25% | ฐานภาษี 35% | ||||
ไม่ซื้อ LTF | ซื้อ LTF | ไม่ซื้อ LTF | ซื้อ LTF | ไม่ซื้อ LTF | ซื้อ LTF | ไม่ซื้อ LTF | ซื้อ LTF | |
รายได้ทั้งปี | 300,000 | 840,000 | 1,440,000 | 5,000,000 | ||||
หักค่าจ่าย (50% แต่ไม่เกิน 100,000) |
100,000 | 100,000 | 100,000 | 100,000 | ||||
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย | 200,000 | 740,000 | 1,340,000 | 4,900,000 | ||||
หักค่าลดหย่อนส่วนตัว | 60,000 | 60,000 | 60,000 | 60,000 | ||||
หักค่าซื้อ LTF | - | 40,000 | - | 100,000 | - | 200,000 | - | 500,000 |
รวมค่าลดหย่อน | 60,000 | 100,000 | 60,000 | 160,000 | 60,000 | 260,000 | 60,000 | 560,000 |
คงเหลือเงินได้สุทธิ | 140,000 | 100,000 | 680,000 | 580,000 | 1,280,000 | 1,080,000 | 4,940,000 | 4,440,000 |
ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย | 0 | 0 | 54,500 | 12,000 | 185,000 | 135,000 | 1,994,500 | 1,819,000 |
ประหยัดภาษีได้ | - | - | - | 42,500 | - | 50,000 | - | 175,000 |
ตารางสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ LTF
ตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบใหม่
(ใช้ยื่นภาษีตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป)
เงินได้สุทธิต่อปี | เงินสูงสุดในแต่ละขั้น | อัตราภาษีร้อยละ (%) | ภาษีในแต่ละขั้น | ภาษีสะสมสูงสุดในแต่ละขั้น |
1 - 150,000 | 150,000 | ยกเว้น | 0 | 0 |
150,001 - 300,000 | 150,000 | 5% | 7,500 | 7,500 |
300,001 - 500,000 | 200,000 | 10% | 20,000 | 27,500 |
500,001 - 750,000 | 250,000 | 15% | 37,500 | 65,000 |
750,001 - 1,000,000 | 250,000 | 20% | 50,000 | 115,000 |
1,000,001 - 2,000,000 | 1,000,000 | 25% | 250,000 | 365,000 |
2,000,001 - 5,000,000 | 2,000,000 | 30% | 600,000 | 965,000 |
5,000,001 ขึ้นไป | - | 35% | - | - |
การผิดเงื่อนไขการขาย LTF
ก่อนกำหนด
ก่อนกำหนด