สิทธิประโยชน์ทางภาษี
กองทุนรวมเพื่อการออม
(Super Savings Fund : SSF)
(Super Savings Fund : SSF)
กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF คือกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อมาทดแทน กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF) ที่สิ้นสุดลงในปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงน้อย
และผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยทำงานมีการออมระยะยาวมากขึ้น และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่
กองทุนสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนรวมผสม และมีนโยบายที่จ่ายปันผลและไม่จ่ายปันผล ดังนั้นผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง สิทธิประโยชน์ทางภาษี SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน
กองทุนสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนรวมผสม และมีนโยบายที่จ่ายปันผลและไม่จ่ายปันผล ดังนั้นผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง สิทธิประโยชน์ทางภาษี SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน
สรุปเกณฑ์เงื่อนไขการลงทุน กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
นโยบายการลงทุน :
ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท
สิทธิประโยชน์ทางภาษี :
ลดหย่อนภาษีสูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาทและเมื่อ รวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000บาท
จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำ
และความต่อเนื่องในการลงทุน :
และความต่อเนื่องในการลงทุน :
ไม่กำหนดขั้นต่ำในการซื้อ และไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
ระยะเวลาถือครอง :
ถือครองไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
ปีที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี :
ใช้สิทธิได้ในปีที่ลงทุน เริ่มปี 2563 - 2567
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ SSF
ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้และไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ (เช่น กองทุน RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ไม่กำหนดจำนวนขั้นตํ่าในการซื้อต่อปี และไม่บังคับซื้อต่อเนื่อง โดยจะใช้สิทธิลดหย่อนแบบปีต่อปี ซื้อปีไหน ลดหย่อนในปีนั้น
รวมถึงเมื่อลงทุนแล้วต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อกองทุน เริ่มตั้งแต่ปี 2563-2567
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
แหล่งที่มา : www.set.or.th
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
แหล่งที่มา : www.set.or.th
กองทุน SSF RMF และ LTF แตกต่างกันอย่างไร
เงื่อนไข | ประเภทกองทุน | |||||||
LTF | SSF ใหม่ | RMF เกณฑ์ใหม่ | ||||||
% ลดหย่อน | 15% ของเงินได้พึงประเมิน |
30% ของเงินได้พึงประเมิน |
30% ของเงินได้พึงประเมิน |
|||||
วงเงินลดหย่อน สูงสุด |
500,000 บาท |
200,000 บาท* |
500,000 บาท* |
|||||
ระยะเวลาถือครอง | 7 ปี (นับตามปีปฏิทิน) |
10 ปี (นับจากวันที่ซื้อ) |
5 ปี (ซื้อต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี) |
|||||
นโยบายลงทุน | หุ้นไทย ไม่ตํ่ากว่า 65% |
ลงทุนได้ ทุกสินทรัพย์ |
ลงทุนได้ ทุกสินทรัพย์ |
|||||
ปีที่ใช้สิทธิ ลดหย่อนได้ |
ปี 2562 (ปีสุดท้าย) |
ปี 2563-2567 | เริ่มใช้ ปี 2563 เป็นต้นไป |
|||||
เงินลงทุนขั้นต่ำ | ไม่กําหนด | ไม่กําหนด | ไม่กําหนด |
*เป็นไปตามประกาศของกรมสรรพากร
คำถามที่พบบ่อย
ลงทุนกองทุน SSF มากกว่า 200,000 บาท ได้หรือไม่
หากลงทุนในส่วนที่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่เกินนั้นจะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และกำไรที่ได้รับจากการขายคืน (เฉพาะส่วนที่เกินสิทธิ) จะถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืน ซึ่งต้องนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีด้วยแม้จะถือหน่วยลงทุนเกินกว่า 10 ปีก็ตาม
ถ้าต้องการขายคืนก่อนครบ 10 ปี ตามเงื่อนไขการลงทุนกองทุน SSF (นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุน)
ต้องคืนเงินภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนไป ทั้งหมดทันที พร้อมจ่ายเงินเพิ่ม 1.50% ต่อเดือนของจำนวนเงินภาษีที่ได้รับลดหย่อน นับตั้งแต่ เดือน เม.ย.ของปีที่เคยยื่นขอลดหย่อนภาษีไว้ จนถึงเดือนที่ยื่นคืนภาษีให้แก่กรมสรรพากร
และหากมีกำไรจากการขายคืนที่ผิดเงื่อนไข ไปรวมเป็นเงินได้ของปีที่ขายคืน เพื่อเสียภาษีด้วย
การนับวันลงทุน SSF 10 ปีเต็มอย่างไร
เงินลงทุนแต่ละครั้ง จะนับจากวันที่ซื้อ 10 ปีเต็ม เช่น
- ลงทุนวันที่ 1 พ.ย. 2563
- เงินลงทุนจะครบ 10 ปีเต็ม วันที่ 30 ต.ค. 2573
- ขายคืนได้วันที่ 1 พ.ย. 2573
กองทุน SSF สามารถสับเปล่ียนหน่วยลงทุนได้หรือไม่
- สับเปลี่ยนภายใน บลจ.ยูโอบี = ยกเว้นค่าธรรมเนียม
- สับเปลี่ยนระหว่าง บลจ. = มีค่าธรรมเนียม กรุณาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวนของกองทุน