สิทธิประโยชน์ทางภาษี
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(Retirement Mutual Fund: RMF)
เป็นกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมและการลงทุนของบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมไว้สำหรับการเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพ ผู้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มากกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปเพื่อเป็นการจูงใจ เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ก.บ.ข.) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยต้องถือกองทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่ลงทุนครั้งแรก และจะขายคืนได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์
เงื่อนไขการลงทุนของ RMF
สำหรับหน่วยลงทุน RMF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับ
ค่าซื้อหน่วยลงทุนมีจำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่
ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ กรณีผู้มีเงินได้มีการจ่ายเงินเข้า
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  • กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี
  • หรือจ่ายเบี้ยประกันชีวิตสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
  • กองทุนรวมเพื่อการออม
เมื่อรวมกับค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF แล้วใช้สิทธิประโยชน์ทาง
ภาษีรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี ทั้งนี้ ตาม
หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ไม่มีขั้นต่ำในการลงทุน แต่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี
   
สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่
วันที่ซื้อครั้งแรก และขายเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ยกเว้นกรณีทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF
เงินลงทุนใน RMF สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยเมื่อลงทุนถูกต้องตามเงื่อนไข กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตัวอย่างที่1
เงินได้ที่ต้องเสียภาษี
840,000 บาท
30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
(840,000x30%)
252,000 บาท
สามารถนำ RMF มาลดหยอน
ภาษีไดสูงสุด
252,000 บาท
ตัวอย่างที่2
เงินได้ที่ต้องเสียภาษี
5,000,000 บาท
30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
(5,000,000x30%)
1,500,000 บาท
สามารถนำ RMF มาลดหยอน
ภาษีไดสูงสุด
500,000 บาท
ตารางสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF
ตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบใหม่
(ใช้ยื่นภาษีตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป)
เงินได้สุทธิต่อปี เงินสูงสุดในแต่ละขั้น อัตราภาษีร้อยละ (%) ภาษีในแต่ละขั้น ภาษีสะสมสูงสุดในแต่ละขั้น
1 - 150,000 150,000 ยกเว้น 0 0
150,001 - 300,000 150,000 5% 7,500 7,500
300,001 - 500,000 200,000 10% 20,000 27,500
500,001 - 750,000 250,000 15% 37,500 65,000
750,001 - 1,000,000 250,000 20% 50,000 115,000
1,000,001 - 2,000,000 1,000,000 25% 250,000 365,000
2,000,001 - 5,000,000 2,000,000 30% 600,000 965,000
5,000,001 ขึ้นไป - 35% - -
ตารางสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF
ตัวอย่างภาษีที่ลดหย่อนจากการซื้อ RMF
เงินได้สุทธิต่อปี ฐานภาษี 5% ฐานภาษี 20% ฐานภาษี 25% ฐานภาษี 35%
ไม่ซื้อ RMF ซื้อ RMF ไม่ซื้อ RMF ซื้อ RMF ไม่ซื้อ RMF ซื้อ RMF ไม่ซื้อ RMF ซื้อ RMF
รายได้ทั้งปี 300,000 840,000 1,440,000 5,100,000
หักค่าจ่าย
(50% แต่ไม่เกิน 100,000)
100,000 100,000 100,000 100,000
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 200,000 740,000 1,340,000 5,000,000
หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 60,000 60,000 60,000
หักค่าซื้อ RMF - 40,000 - 100,000 - 200,000 - 500,000
รวมค่าลดหย่อน 60,000 100,000 60,000 160,000 60,000 260,000 60,000 560,000
คงเหลือเงินได้สุทธิ 140,000 100,000 680,000 580,000 1,280,000 1,080,000 4,940,000 4,440,000
ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย 0 0 54,500 12,000 185,000 135,000 1,994,000 1,819,000
ประหยัดภาษีได้ - - - 42,500 - 50,000 - 175,000
การผิดเงื่อนไขการลงทุนของ RMF
การซื้อที่ผิดเงื่อนไข
  1. กรณีซื้อเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีผลตอนขาย เพราะจะต้องนำกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนที่ซื้อเกินไปนั้น เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
  2. กรณีซื้อน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษี ย้อนหลังไป 5 ปีปฏิทิน ซึ่งต้องชำระคืนในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
การขายที่ผิดเงื่อนไข
  1. กรณีลงทุนมาแล้วเกิน 5 ปี แต่ขายคืนก่อนอายุครบ 55 ปี ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง นับตั้งแต่ปีก่อนที่ผิดเงื่อนไข โดยต้องชำระภายในมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไขหากไม่ชำระคืนภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่ม และ/หรือเบี้ยปรับ
  2. กรณีลงทุนไม่ถึง 5 ปี และถึงแม้จะถอนก่อนอายุครบ 55 ปี หรือไม่ก็ตาม ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง นับตั้งแต่ปีก่อนที่ผิดเงื่อนไข โดยต้องชำระภายในมีนาคมของปีถัดจาก ปีที่ผิดเงื่อนไข หากไม่ชำระคืนภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่ม และ/หรือเบี้ยปรับ และกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) จะต้องนำไปรวมกับเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (8) เพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดาในปีนั้น
ข้อมูลควรรู้ก่อนลงทุนกับกองทุน RMF