Carbon Tax , a new world trade regulation
Build a sustainable organization. The key to attracting employees.
ESG investment trend is not just a theme, it's a new criterion for selecting quality businesses for fund portfolios.
Trends and Future of Corporate Sustainability Disclosure
Click: https://www.uobam.co.th/th/activities/seminar-esg
Carbon Credits For Sustainable Development
Asset Management Company Awards : ESG
บลจ.ยูโอบี ได้รับรางวัลบริษัทจัดการกองทุนดีเด่น ด้านความยั่งยืน (ESG) จากเวที SET Awards 2022
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นายเจิดพันธุ์ นิธยายน กรรมการผู้จัดการ สายการลงทุน จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด เข้ารับมอบ SET Awards 2022 รางวัลบริษัทจัดการกองทุนดีเด่น ด้านความยั่งยืน (Asset Management Company Awards : ESG) จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร รางวัลดังกล่าวสะท้อนความเป็นผู้นำในการผลักดันนโยบาย ESG ในการดำเนินธุรกิจกองทุนรวม รวมทั้งได้นำมาผนวกในการวิเคราะห์และเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการลงทุน (ESG Integration) ซึ่งเราเชื่อมั่นว่า ESG จะช่วยเสริมกระบวนการลงทุนให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด พร้อมช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ในระดับบริษัทที่ลงทุน เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่น่าสนใจแก่ผู้ลงทุนได้ในระยะยาวพร้อมกับพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน
Series "Building a Social Thinking with ESG"
ซีรีส์ “สร้างสังคมฉุกคิดด้วย…ESG” ในส่วน “ESG Investing” พูดคุยกับผู้ลงทุนในประเทศ (สถาบัน/บุคคล) ต่อการลงทุนที่ยึดกรอบ ESG นำเสนอแนวคิด วิธีการ กระบวนการของทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนบุคคล ที่นำ ESG มาเป็นกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุน รวมทั้งการใช้บทบาทในฐานะผู้ลงทุนร่วมขับเคลื่อนให้กิจการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในกรอบ ESG ซีรีส์นี้จะบอกเล่าแต่ละกรณีตัวอย่าง เพื่อร่วมกันสร้างการลงทุนยั่งยืนด้วย…ESG”
แม้ว่าการลงทุนที่มุ่งสู่ความยั่งยืน หรือ ESG : Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) จะเป็นแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย แต่มุมมองเกี่ยวกับการลงทุนด้าน ESG สำหรับบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) แต่ละแห่งก็มีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกัน สำหรับ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ นอกจากจะมองการลงทุนด้าน ESG ในหลากหลายมิติแล้ว ยังนำ ESG เข้ามาอยู่ในกระบวนการจัดสรรการลงทุนอย่างจริงจังอีกด้วย
ESG เริ่มต้นจากตัวองค์กร
นายเจิดพันธุ์ นิธยายน กรรมการผู้จัดการ สายการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมกับ นางสาวสิริอนงค์ ปิยสันติวงศ์ ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายการลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลก และนายกุลฉัตร จันทวิมล รองกรรมการผู้จัดการ สายพัฒนาธุรกิจ ได้ร่วมกันให้ข้อมูลและมุมมองการลงทุนด้าน ESG ของ บลจ.ยูโอบี
“ESG เป็นนโยบายของ UOB ไหลเนื่องมาจากภูมิภาค มีการตั้งเป้าหมาย แผนงาน ความคืบหน้า แล้วก็ตั้ง ESG Resource คือมีคนรับผิดชอบในการประสานงานทั้งในไทยและต่างประเทศ การดำเนินงานต่าง ๆ โดยสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ แต่ละปีจะมีการกำหนดแผนงานออกมา ซึ่งเมื่อเทียบกับองค์กรอื่น ๆ ที่สามารถกำหนดแผนงาน ESG เองได้ แต่ของ UOB จะเป็น ESG Champion ที่มีหลายมิติ เช่น มิติของบริษัท ไม่ใช่แค่การลงทุน แต่มีเรื่องตัวบริษัท พนักงาน บริษัทไปประเมิน ESG บริษัทอื่น ทาง UOB เอง ต้องมีเรื่อง ESG ของบริษัทเองครบด้วย ขณะเดียวกัน ก็มีการดำเนินการเรื่อง CSR กิจกรรมเพื่อสังคมในหลาย ๆ ด้าน”
นางสาวสิริอนงค์ ให้ข้อมูลพื้นฐาน ว่า ยูโอบีประเทศไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ UOBAM และอยู่ในกลุ่ม UOB ที่เป็น Regional Player ซึ่งนับเป็นกลุ่มบริษัทแรกๆที่ได้ลงนามใน UN-PRI (UN-supported Principles for Responsible Investment หรือหลักการลงทุนที่รับผิดชอบในระดับสากลที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ) ตั้งแต่ต้นปี 2564
เนื่องจากเป็นการลงนามในนามกลุ่มยูโอบี เมื่อมีกิจกรรม ก็จะทำร่วมกันหมด ขึ้นอยู่กับแนวคิดในแต่ละปี เช่น ปีที่ผ่านมา คือ Zero Hunger ทุกประเทศจะมีการนำอาหารไปให้ผู้ป่วยที่ติดโควิด ปีนี้จะเน้น climate change กิจกรรมที่ทำ คือ การปลูกต้นไม้ Tree Planting เป็นต้น
ส่วนในด้านการลงทุน เนื่องจากในกลุ่มประเทศเอเชียจะมีปัญหาที่คล้ายกัน คือ เรื่องข้อมูลด้าน ESG เทียบกับยุโรปที่ตื่นตัวเรื่อง ESG มาก่อนตามด้วยสหรัฐ จึงมีความพร้อมด้านข้อมูลมากกว่า แต่สำหรับบริษัทไทยและหลายประเทศในเอเชีย ยังไม่ใช่ แต่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็มีความพยายามกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียน (บจ.) เปิดเผยข้อมูลมากขึ้น ซึ่งเป็นเป็นส่วนของ G-Governance ข้อดีอีกอย่าง คือ เรื่องฐานข้อมูล บริษัทแม่ที่สิงคโปร์มีการซื้อข้อมูล MSCI ที่สามารถแชร์กันใช้ในกลุ่มยูโอบี บางอย่างก็เอามาแชร์ไอเดียกับ บจ.ในไทยได้
นายเจิดพันธุ์ กล่าวว่า ยูโอบีให้ความสำคัญกับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับ ESG ให้ความสำคัญกับการลงทุนที่ไม่มีผลกระทบ ไม่ทำร้าย สภาพแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล เพราะมีภาพชัดว่า สิ่งเหล่านี้เป็น threat กับผลการดำเนินงานบริษัทในอนาคต เพราะนอกเหนือจากการแข่งขันทางธุรกิจ ผลประกอบการของธุรกิจแล้ว ESG คือ valuation ที่อยู่ข้างหนึ่ง ต้องผสมสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน ถ้าบริษัทมีแต่ valuation คือผลประกอบการดี แต่ไม่ให้ความสำคัญกับ ESG เลย วันใดวันหนึ่ง 3 เรื่องนี้ก็อาจจะเป็น threat กับบริษัทที่ลงทุน ในตลาดหุ้นมีตัวอย่างมาเยอะ ไม่ว่าจะเป็นกรณีพิพาทต่าง ๆ เรื่องธรรมาภิบาล เรื่องสังคม การฟ้องร้อง
การเลือกบริษัทที่ให้ความสำคัญกับ ESG จะทำให้สบายใจได้กับการลงทุน เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินใจลงทุน
นำ ESG เข้ากระบวนการตัดสินใจลงทุน
นายเจิดพันธุ์กล่าวว่า การร่วมลงนามใน UNPRI จะมีพันธะสัญญาที่ต้องปฏิบัติอยู่ 6 ข้อ เรื่องแรกคือ ต้องเอา ESG เข้าสู่กระบวนการตัดสินใจลงทุน ไม่ใช่มีไว้เฉย ๆ แต่ต้องอยู่ในกระบวนการตัดสินใจลงทุน เรื่องต่อมา คือการเข้าไปมีบทบาท มีส่วนร่วมในการพัฒนาเรื่อง ESG กับบริษัทที่ร่วมลงทุน คือมี engagement แต่ละบริษัทว่าควรมีการพัฒนาในด้านไหน เช่น สังคม สิ่งแวดล้อม ในขณะที่นักลงทุนธรรมดาไม่มีความจำเป็น แค่ดูอยู่วงนอกว่าบริษัทไหนดี แล้วเลือกลงทุนบริษัทนั้น แต่พอร่วมลงนามใน UNPRI ที่ต้องการให้เรามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างอุตสาหกรรมในจุดนี้ สำเร็จหรือไม่ ไม่รู้ แต่ต้อง engage เพื่อกระตุ้น ส่วนนี้จะหนัก จะเหนื่อยหน่อย รวมทั้งต้องสร้าง สนับสนุนในกลุ่มบลจ.เองให้เดินหน้าเรื่อง ESG ต่อไปได้ รวมถึงการรายงาน การเปิดเผยข้อมูล
อย่างไรก็ตาม นายเจิดพันธุ์ ยอมรับว่า แนวทางและวิธีการประเมินเรื่อง ESG เป็นเรื่องค่อนยาก แต่โชคดีที่ยูโอบีสิงคโปร์มีการศึกษาข้อมูลจาก MSCI รวมทั้ง จาก SASB(Sustainability Accounting Standards Board) แล้วนำมาประยุกต์ และจัดทำแนวทาง(guideline)ในการประเมินคะแนนของ ESG ของยูโอบีขึ้น
“สำหรับยูโอบี ESG เป็นกระบวนการการตัดสินใจลงทุนทั้งตราสารหนี้ ทั้งหุ้น แต่แนวทางและวิธีการประเมินที่ใช้ บอกได้ว่ายาก เรื่อง ESG อยากจะใช้คำว่า ยังไม่ใช่ศาสตร์ ไม่ใช่ไฟแนนซ์ อาจจะมีรูปแบบต่าง ๆ แต่ยังไม่เป็นศาสตร์”
โดยมีหลักเกณฑ์การประเมิน ESG 2 ส่วน ส่วนแรกคือ เกณฑ์ในการประเมิน E-S-G สองคือ น้ำหนักที่จะให้กับ E-S-G ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป และทำเป็นแพลตฟอร์มขึ้น เรียก UOB Materiality Map ที่นำมาใช้ทั้งภูมิภาค รวมทั้งพัฒนา ESG Scoring ให้มีความเป็น dynamic
โดยพยายามจับข่าวทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับหุ้นที่ยูโอบีลงทุนมาแปลความหมายออกมาว่า เป็นบวก หรือลบ ต่อ E-S-G เพราะแต่ละวันจะมีข่าวเข้ามา บางข่าวไม่ได้มีนัยยะมากพอให้เกิดเรื่องที่ต้องแจ้งตลาดหลักทรัพย์ เรื่องการฟ้องร้อง แต่เป็นข่าวที่ค่อย ๆ เข้ามา เป็นการหา ESG momentum ในแต่ละบริษัท ซึ่งพบว่าการเปลี่ยนแปลงของ ESG มีความสัมพันธ์กับราคาหุ้น ทำให้วันดีคืนดี มีเรื่องที่ทำให้ ESG Score ถูกปรับลดลง เป็นการปรับลดโดยอัตโนมัติ แล้วทีมจะต้องเข้าไปดูว่า ถูกปรับลดเพราะเรื่องอะไร เพื่อมาคุยกัน จะไม่ได้ยึดตามผลการประมวลจาก AI ทั้งหมด รวมทั้งจะมองเรื่อง ESG แยกจาก Valuation เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน เพราะแต่ละเรื่องไม่มีสูตรชัดเจนถึงการตอบสนองของตลาด ซึ่งบริษัทอื่นอาจจะนำสองเรื่องนี้มาผนวกกันในแง่ตัวเลข แล้วลดราคาเป้าหมายลง
นายเจิดพันธุ์ กล่าวว่า เรื่อง ESG ตอนนี้ทุกคนรู้แล้วว่าดีอย่างไร แต่สิ่งที่ยูโอบีจะบอก คือ ESG มีประโยชน์ต่อการลงทุนอย่างไร และ ESG อยู่ในกระบวนการลงทุนของยูโอบี ในทุกการลงทุนมีการให้คะแนน ESG ในหลักทรัพย์ที่ลงทุนทั้งหมดผ่านหลักเกณฑ์ต่าง ๆ และเป็นเกณฑ์ที่ต้องมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ เปลี่ยนแปลงได้ตลอด และแม้จะโชคดีที่ยูโอบีสิงคโปร์มีการพัฒนา Materiality Map ในการประเมิน ESG แต่จะเหนื่อยในการหาข้อมูล เพราะข้อมูลส่วนใหญ่มาจากรายงานประจำปีของบริษัท หรือการเข้าไปคุยกับผู้บริหารที่เขาอาจไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่อง ESG เป็นอันดับแรก บางครั้งก็ตอบไม่ได้ ซึ่งไม่ผิด เพราะเป็นเรื่องที่เพิ่งเข้ามา และการประเมิน ESG ต้องประเมินเป้าหมายของบริษัทจดทะเบียนด้วย คือ จะดูว่า บริษัทมีเกณฑ์เรื่อง ESG อยู่หรือไม่ จะทำหรือไม่ทำ หรือดูความตั้งใจของบริษัทที่จะดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ESG สกรีนการลงทุนให้ครบทุกมิติ
นอกจากนี้ ยูโอบี ยังมีแผนที่จะแปลงการลงทุนให้เป็นมาตรฐานของ ESG จริง ๆ โดยมี ESG เป็นหลักคิด ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกหลักเกณฑ์การออกกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing Fund: SRI Fund) ที่เปิดกว้างในเรื่องกระบวนการลงทุน คือไม่มีข้อจำกัดการลงทุน แต่ต้องมีความชัดเจนเรื่องการเปิดเผยข้อมูล ให้ผู้ลงทุนในกองทุนได้เห็นว่า บลจ. มีการเปิดเผยข้อมูลการลงทุนในพอร์ตที่ชัดเจนกว่าการลงทุนทั่ว ๆไป
นายกุลฉัตร กล่าวเสริมว่า ในต่างประเทศ แนวโน้มการลงทุนด้าน ESG มีความชัดเจนมากขึ้น และยิ่งช่วงเกิดโรคระบาดโควิด-19 ยิ่งเห็นภาพชัดขึ้นว่า บริษัทจดทะเบียนที่ให้ ESG Scoring สูง ราคามีการปรับตัวลงน้อยกว่า และปรับตัวขึ้นที่ดีกว่าด้วย ทำให้เป็นตัวเร่งเรื่อง ESG และแนวโน้มเริ่มมาที่เอเชีย ที่ประเทศไทยแล้ว หน่วยงานใหญ่ ๆ เช่น ตลาดหลักทรัพย์มีดัชนี ESG แล้วกำลังพิจารณา ESG Report เป็นตัวเสริม สำหรับกองทุนรวมก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ผู้ลงทุนที่จะเลือกกองทุนอาจจะต้องดู Green Credit ที่เป็น ESG Credit เพื่อจะได้รู้ว่า บริษัทที่จะลงทุนมีมุมมองด้านนี้อย่างไร หรืออย่าง สิงคโปร์ ทำกองทุน SSS (Singapore Sustainable Select) เป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรรักษ์โลก(sustainable bond)เท่านั้น เพื่อให้นักลงทุนสิงคโปร์ลงทุนเพื่อซัพพอร์ตเมืองสิงคโปร์ ซัพพอร์ตคนรอบข้าง ซัพพอร์ตครอบครัว หรือเกาหลีใต้ที่นักลงทุนรุ่นหนุ่มสาวสนใจ ESG มากกว่ารุ่นผู้ใหญ่
นายเจิดพันธุ์ เห็นว่า การผลักดันการลงทุน ESG นั้นต้องทำร่วมกันไปทั้งหมด โดยในประเทศไทยนั้น ทั้งตลาดหลักทรัพย์และก.ล.ต. มีความพยายามในการผลักดันเรื่องการลงทุน ESG เช่น ให้มีการรายงานเรื่อง ESG เพื่อให้เกิดความชัดเจน นักลงทุนสามารถหาข้อมูลได้ ด้านผู้ลงทุน กลุ่มบริษัทจัดการกองทุน ก็มีการจ้าง MSCI มากำหนดไกด์ไลน์หลัก ๆ ในการกำหนดเกณฑ์ E-S-G แต่ละบริษัทสามารถนำไปใช้และพัฒนาต่อได้
ขณะที่ยูโอบี ก็มีเกณฑ์ที่พัฒนามาแล้ว 2 ปี เรียกว่าทั้งผู้กำกับดูและผู้ลงทุนที่เป็นสถาบันเตรียมตัวพร้อมแล้ว ที่เหลือก็เป็นส่วนของบริษัทจดทะเบียน ขึ้นกับแต่ละบริษัทมีความเกี่ยวข้องในเรื่อง E-S-G มากน้อยเพียงไร และเป้าหมายแต่ละบริษัทด้วย รวมทั้งผู้ลงทุนเองว่าจะยอมรับเรื่องนี้อย่างไร
“ในมุมของยูโอบี การลงทุน ESG เป็นการสกรีนการลงทุนให้ครบทุกมิติมากขึ้นในด้าน Asset Management เป็นการเอาการลงทุนเชิงคุณภาพมาผนวกกับเชิงปริมาณ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่ดีที่สุดในการลงทุน”
ที่ผ่านมายูโอบี ออก LTFที่เน้น G Governance เป็นหลัก แต่ยังมี E กับ S ที่ต้องดู รวมทั้งมีกองทุนตราสารหนี้ ที่ในไทยยังไม่ค่อยเห็น แต่ยูโอบี มี ESG Advance”
สำหรับนักลงทุน กุลฉัตร บอกว่า การตัดสินใจลงทุน ESG ต้องถามตัวเองก่อนว่าอยากลงทุนตัวไหน กลงทุนต้องรู้ตัวก่อนว่าชอบแบบไหน หรืออยากมี ESG โดยรวม ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกต่างกัน เพราะแต่ละทีม แต่ละองค์กรใช้ ESG ต่างกัน บางแห่งใช้ G เป็นหลัก อย่างยูโอบีเคยออกกองทุน LTF-CG เน้น G เป็นหลัก แต่ยังมี E S ที่ต้องดู ซึ่งในไทยมีหลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นหุ้น ขณะที่ตราสารหนี้มีไม่มากนัก แต่ยูโอบีจะมี ESG Advance สำหรับกองทุนในประเทศ แต่ในต่างประเทศ กองทุน E-S-G มีหลากหลายมาก
ในแง่กองทุนต่างประเทศ จะมีตัวเสริมขึ้นมา คือ ถ้าเป็นกองทุนที่จริงจังต่อ ESG ในรายงานประจำเดือนจะมีรายงาน ESG แนบท้าย เช่น E หรือ S หรือ G เท่าไหร่เทียบกับภาพรวม คือผู้บริหารกองทุนพยายามสื่อสารว่า บริษัทจริงจังกับ ESG อย่างไร บางรายอาจจะบอกว่าเอาเข้าไปในกระบวนการตัดสินใจการลงทุน แต่ไม่ได้เขียนชัดเจน แต่ของยูโอบี มีรายงานกระบวนการที่เขียนเป็นหน้า มีความชัดเจน ไม่ใช่แค่พูด ในต่างประเทศ ยังมีมากกว่านั้น คือ มี ESG Report เพิ่มอีก นอกเหนือจากรายงานผลประกอบการ ทำให้นักลงทุนจะมีความเข้าใจ มีข้อมูลประกอบการพิจารณามากขึ้น
นายเจิดพันธุ์ กล่าวว่า สำหรับ ESG ยูโอบี ถือได้ว่าเป็น Active Investor เพราะทุ่มเทกับเรื่องนี้มาพอสมควร ประมาณ 2 ปีเศษในการเร่งจัดทำ Scoring การติดตาม และอื่น ๆ ที่ล้วนใช้ความคิด พลังงาน กระบวนการต่าง ๆ ค่อนข้างมาก และกลุ่มยูโอบีที่สิงคโปร์ช่วย มีไกด์ไลน์ มี AI ช่วย และแนวโน้มการลงทุนของโลกในขณะนี้ เริ่มบีบให้ต้องไปในทิศทาง ESG แม้บางบริษัทจะเห็นว่าไม่จำเป็นก็ตาม หรือเห็นว่า ESG เป็นคนละส่วนกับผลประกอบการ แต่ขณะเดียวกัน ทุกส่วนก็เห็นว่า ESG อาจจะส่งผลต่อผลประกอบการได้ในระยะยาว ๆ และระยะปานกลางได้ รวมทั้งลดความเสี่ยงของพอร์ตได้
แต่สิ่งที่ต้องพยายามทำ คือ ESG ต้องสร้างให้เสริมผลประกอบการให้ได้ ซึ่งมีการทดลองทำแล้ว แต่ยังไม่มาก เพราะข้อมูลของ ESG หรือการประเมิน ESG ไม่ได้มากถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนงบการเงินที่เปลี่ยนเพิ่มขึ้นลดลงทุกไตรมาส แต่ก็ต้องทำให้มันมีไดนามิค จะทำให้ขั้วที่ไม่สนใจ ESG ได้เห็นประโยชน์จริง ๆ
นายเจิดพันธุ์ มองแนวโน้มการลงทุนด้าน ESG ในไทย ที่แม้ภาครัฐจะพยายามสนับสนุนว่า สุดท้าย ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ และความยอมรับของผู้ลงทุนที่เป็นเจ้าของเงินตัวจริง ที่จะตอบโจทย์ว่า ESG ดีจริงหรือไม่ และยังแบ่งเป็นกองทุนในประเทศและการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ ถ้าผลประกอบการออกมาดี นักลงทุนก็จะรู้สึกว่า ESG ดี สำหรับกองทุนในเมืองไทย ที่จะเริ่ม SRI Fund ก็เป็นเรื่องหนัก เพราะที่กว่าจะเห็นภาพก็อีก 2-3 ปี และยังขึ้นกับขนาดการลงทุน ที่ต้องใช้เวลากว่าเจ้าของเงินเห็นว่า มีประโยชน์ในการลงทุน
Stocks and bonds selection guidelines with a sustainable investment approach (ESG)
Although the principles of sustainable investment (or sometime called ESG-based investment) are similar in the way that investors would like to invest in a company that support the Environmental, Social, and Governance aspects, but the sustainable investment approach varies between asset managers. In other word, each asset management company tends to follow their proprietary ESG investing approach. Therefore, what will be discussed in this article is based on my experience as a fund manager at UOB Asset Management. In addition, I also suggestions the database that the audience can find the ESG-related information for investing in Thai Equity and Thai fixed-income at no cost.
The first thing that fund managers and investment advisors should do when constructing the investment portfolios is to understand the needs of their clients in order to create the optimal portfolio based on our clients’ objectives. ESG-based investment has many aspects to consider, namely environmental, social, and governance. As someone who takes care of the client’s money, you should understand which ESG criteria the customer focuses on the most. For example, some customers might focus on the environmental aspect like global warming, or some might focus on having a company with good governance because it can reduce the risk of being manipulated in the future. Typically, expected returns and the level of risk tolerance are the main topics to formulate the investment policy. In my opinion, ESG should also be presented as another topic to formulate the investment policy going forward.
Currently, investment policies of institutional investors often mention about the role of ESG in the investment process, otherwise known as the ESG Investment Process. In the future, personal client investment policies will become more involved with the ESG. It is important to discuss with clients which part of the ESG is wanted and to arrange portfolios accordingly, since doing so will prevent misunderstandings in the future. For example, a client might think that a particular fund is focused on the environmental aspect when it is actually focused on the social aspect of the ESG such as not using child labor.
How to select securities using ESG criteria?
Once the investment policy is formulated, the next step is the selection of securities into the portfolio. To illustrate, let’s show a fund that invests fully on stocks in order to picture the role of the ESG integration in the portfolio. Let’s say you are a fund manager who has a client that wants to invest in Asia Equity Fund. The first thing we should do is to select stocks that we can invest in, such as large-cap stocks with reasonable liquidity. The stocks that we can invest in are called the stock universe.
Now that we have the stock universe, the next step is to analyze the ESG issue of these stocks. The challenge is that we have around 1,600 stocks in the universe, which will take a long time to analyze by a team of analysts. We tackle this challenge by the use of technology, which generally consists of two parts. The first part is automatically extracting information from related databases such as MSCI, S&P Global, Bloomberg, and news on these stocks. Since we have a lot of stocks to analyze, automated data retrieval is therefore required so that we can analyze it in a timely manner. The second part is processing the data with the help of Artificial Intelligence to get an estimate of the ESG score based on the data retrieval from the first part. Since the data derived from the database in not complete, especially for developing markets including Thailand, it is quite essential to have a team of ESG analysts to collect the missing data that is relevant for us to make an ESG assessment. The result is the ESG score of each stock in the form of A, B, C, and D, with A being the best ESG obtainable score.
The next step is to use the quantitative prediction models to identify the most suitable stocks to put in our Asia Equity Fund. The fund manager analyzes the results of the model in order to identify 60 stocks with the optimal risk return profile, and ESG scores that meet the given criteria such as only A and B. Then, an ESG analyst team will deliberately analyze the ESG related issues by sending questionnaires or talking to management to accurately readjust the ESG scores. The aim of this stage is to identify the final 30 stocks for the Asia Equity Fund.
In the last step, after we have our final 30 stocks, we will invest in these stocks for the Asia Equity Fund. After the initial investment, we still have to continually assess the ESG of each stock in our portfolio because their ESG score can change due to various factors such as changing business strategies or disputes regarding illegal labour.
Now that you have all seen the overall portfolio construction, let’s take a closer look at the ESG analysis. The structure of the ESG analysis consists of three pillars, the first being environment, the second being society, and the third is governance. Each pillar has its own important topics. The main topics in environment are waste management and greenhouse gas emissions that contribute to global warming. For society, it’s the work safety of employees and security of customer data. Lastly, the main topics for governance are business ethics, proper management of a company, proper payment of taxes, and transparency. These aspects of the ESG will be given emphasis depending on the suitability of each industry. These respective emphases will be calculated into a weighted ESG score.
When ESG analysts receive ESG-related news about a company, the ESG score may be adjusted. The score arising from these disputes will be called the Controversy Score. In each news, the Controversy Score will be subtracted from the Weighted ESG Score. For example, if a particular stock was originally given a rating of B and a serious dispute caused its score to drop to a D, we may have to consider selling that stock.
How to get started with an ESG investing in Thailand?
For investors in Thai stocks, the website www.settrade.com has compiled ESG scores from various sources on the ESG page. This makes it convenient to find information and the THSI, otherwise known as Thailand Sustainability Investment. This is organized by the Stock Exchange of Thailand, which selects stocks with sustainable business operations. They must have a sustainability score of at least 50 in each ESG aspect or is a stock that is a member of the Dow Jones Sustainability Indices. In the most recent year, there are 124 companies which possess sustainable stocks. Choosing to invest in these companies is an ESG investment choice that has clear, applicable guidelines.
Companies will usually issue both stocks and bonds, so ESG consideration for stocks can be based on the same principles and methods used on stocks. However, if a company wants to issue bonds to fund a specific project such as an environmental project, it is considered a green bond. If the bonds are issued to fund a social project, it is considered a social bond. Lastly, if a company issues bonds to fund bonds both environmentally and socially beneficial, it is considered a sustainability bond.
For investors in Thai bonds, the website www.thaibma.or.th has compiled ESG-related bonds, making it convenient to find information.
What are some popular ESG investment strategies?
Opting out of certain industries investing or Negative/Exclusionary Screening has decreasing growth rates because of the more elaborate ESG processing nowadays. In the early stage, to classify some industries out of the list are simpler practices. However, the weakness is that many asset managers see analyzing ESG as a way to positively impact the environment, society, and governance. We want the company to care about environmental protection, social development, and better governance. Removing every company in the industry in then similar to ending the opportunity for us investors to play a role in these companies.
Positive/best-in-class screening is gaining the popularity nowadays. Investing in companies that possess commitment and demonstrate efforts in reducing global warming without limiting the investment industry, for instance, investing in companies in the coal industry that are improving air filtration efforts. For some clients who wish to invest directly for ESG purposes, such as reducing global warming, they may invest in sustainability-themed funds. Another increasingly popular strategy is the ESG Integration. This is done through systematically incorporating an ESG principle into the investment process.
It can be seen that ESG strategy has been evolving over time. We will likely see a new ESG investment strategy in the future. Therefore, an investor should study the different ESG strategies that will be used on the funds we invest in. Some funds may use more than one or many combinations of strategies. This information will be revealed in the Fund Fact Sheet or Fund Presentation Deck.
Why the Europe’s Sustainable Finance Disclosure Regulation (SFDR) is relevant?
So many regions in the world value the SFDR because Europe is considered as the leader of sustainable investment. The amount invested in ESG funds makes European rules often used as a model in other regions around the world. The SFDR rules were implemented in early March by making asset management companies classify their funds into three groups according to Article 6, 8, or 9, depending on the sustainability objectives of the investment product.
Article six states that all funds will have a partial disclosure of ESG information, while funds under Article eight and nine are required to display more detailed information about the ESG to investors. Article eight is a presentation of a fund that combines both environmental and social factors along with other factors. Article nine is a fund with a sustainable investment objective. It will be an investment in companies that will have a positive impact on society and the environment, following good governance practices. Therefore, funds under Article nine are usually thematic or impact funds. These information are usually disclosed in the Fund Fact Sheet or Fund Presentation.
What is the recommended approach to select an ESG Fund?
In each fund, the first thing we should look at the is overall ESG score. For example, if the asset management company has funds classified as A, B, C, D, and this fund has a rating of A. This means that the asset management company has chosen stocks and bonds that are classified as having positive impact to the environment and society. If the fund we chose has a rating of D, it might imply that the securities in this fund might be selected without using the ESG criteria. The ESG score coverage shows how many percent of stocks or bonds in the fund received ESG ratings of A, B, C, and D. We should compare the funds’ ESG score to its benchmark. For example, the asset management company reveals that the fund may get an A while the Benchmark got a B in the fact sheet. Funds that are classified as Sustainable Investment should receive a higher rating than the benchmark.
Furthermore, we could look for further details on the matrix used to calculate an ESG scores in the securites that the fund holds. Important metric measures of the environment include: greenhouse gas emissions, reducing energy consumption, reducing water usage, and reducing the release of waste. For society, such as the role of women in the workplace, it includes: the percentage of women in the management level, number of hours used in educating employees, and work safety. For governance, it includes: checking the work of the management side, paying taxes properly, disclosure of the salary of executives, and having policies to prevent bribery.
Over the past several years, UOB Asset Management Co., Ltd. has incorporated ESG into our own investment process. This article is an introductory overview in the ESG investing landscape. With our local expertise and dedication toward an ESG investment, we aim to be an ESG leader investment house in Asia.
Article by
Sirianong Peyasantiwong
Fund Manager, Multi-Asset Department,
UOB Asset Management